ประวัติโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก - แม่งัด จังหวัดเชียงใหม่ | |
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก
- แม่งัด แยกความเป็นมาของการดำเนินงานออกเป็น 2 ช่วง คือ |
|
โครงการชลประทานแม่แฝก
แต่เดิมการชลประทานประเภทเหมืองฝายในภาคเหนือได้มีประวัติการดำเนินงานโดยราษฎรมากว่า
700 ปี โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นทำ ก่อสร้างเป็นตัวฝาย ซึ่งได้แก่ ไม้ไผ่ ไม้เบญจพรรณ
หิน กวด และทรายแต่ฝายพื้นเมืองดังกล่าวชำรุดเสียหาย |
|
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
เมื่อ พ.ศ. 2495 ราษฎรในเขตตำบลช่อแล และตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ได้ร่วมมือกันก่อสร้าง ฝายปิดกั้นลำน้ำแม่งัดขึ้น ลักษณะเป็น ฝายพื้นเมือง แบบหินทิ้ง ด้านบนยาแนวด้วยคอนกรีต เพื่อทดน้ำแล้วส่งน้ำให้พื้นที่นาประมาณ 3,600 ไร่ ซึ่งการก่อสร้างดังกล่าวราษฎรได้ช่วยกันทำตามแบบที่เคยทำกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม จึงเป็นเหตุให้ฐานรากของตัวฝายขาดความมั่นคงแข็งแรงในปี พ.ศ. 2516 ได้เกิดอุทกภัย ครั้งใหญ่ขึ้น ทำให้ฝายแม่งัดเสียหายใช้การไม่ได้ราษฎรร้องขอให้ทางราชการก่อสร้าง ให้ใหม่เป็นฝายถาวร กรมชลประทานได้ทำการพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรซ่อมแซมฝาย ที่ชำรุดให้มีสภาพดีและพอใช้งานได้ไปก่อน ต่อมาราษฎรในท้องที่ ตำบลช่อแล ตำบลบ้านเป้า และตำบลแม่หอพระอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้ร้องขอให้ทางราชการสร้างฝายแม่งัด พร้อมทั้งขุดคลอง ส่งน้ำ เพื่อส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูก ทั้งสองฝั่งลำน้ำแม่งัด บริเวณสาม ตำบล ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งกรมชลประทานจึงได้ทบทวนและพิจารณา เปรียบเทียบระหว่างการก่อสร้างโครงการชลประทานประเภทฝาย ซึ่งสามารถอำนวยประโยชน์ให้ราษฎร ได้อย่างเพียงพอเท่าที่ร้องขอ กับการก่อสร้างโครงการชลประทานประเภท อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แบบเอนกประสงค์ |
|
ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม
ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎร บริเวณที่จะสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำใน วันที่ 21 มกราคม 2520 กรมชลประทานได้กราบบังคมทูลถวายรายงานเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการก่อสร้างโครงการชลประทานประเภทฝาย และประเภทอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของลุ่มน้ำแม่งัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทาน พระราชดำริว่า "โครงการประเภทใดถ้าหาก พิจารณาแล้วเห็นว่า สามารถอำนวยประโยชน์ได้มากกว่า ก็สมควรเลือกสร้างโครงการประเภทนั้น" ด้วยเหตุนี้กรมชลประทานจึงพิจารณาเลือกสร้างโครงการชลประทานประเภทอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และได้เริ่มลงมือก่อสร้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 แล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2528 สามารถเก็บกักน้ำ ไว้ส่งให้แก่พื้นที่ เพาะปลูกทั้งหมดในเขตโครงการฯ ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ ได้เพียงพอตลอดทั้งปีอีกทั้งยังใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการประมงอีกด้วย วันที่ 16 มกราคม 2529 กรมชลประทานได้ขอพระราชทานชื่อเขื่อนแห่งนี้เพื่อเป็นศิริมงคล พระบาทสมเด็จฯ พระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงมี พระมหากรุณาธิคุณพระราชทานชื่อเขื่อนแห่งนี้ว่า "เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล" และทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนแห่งนี้ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2529 |
|
กรมชลประทานได้พิจารณาถึงการดำเนินการส่งน้ำจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
เพื่อทำการชลประทานให้แก่พื้นที่เพาะปลูกในลุ่มน้ำแม่งัด และการควบคุมปริมาณน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่จะไหลลงสู่ลำน้ำเดิมมายัง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝกและพื้นที่ตอนล่างเห็นว่ามีความ สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและเป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงผลประโยชน์กัน เพื่อให้การส่งน้ำดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กรมชลประทานจึงได้รวมโครงการทั้งสองคือ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝกและเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ดังกล่าวเข้าไว้ด้วยกัน มีการบริหารงานศูนย์รวมที่เดียวกัน และตั้งชื่อโครงการใหม่ว่า"โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก - แม่งัด โดยเริ่มทำงานด้านส่งน้ำและบำรุงรักษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา |