โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก
- แม่งัดสมบูรณ์ชล ตั้งอยู่เลขที่
105 หมู่ที่ 5 ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ระยะแรกก่อสร้าง
โครงการฯ แม่แฝก เริ่มปี พ.ศ.2472 เสร็จสมบูรณ์ปี พ.ศ.2479 ระยะที่ 2 ก่อสร้างโครงการฯ
แม่งัด เริ่มปี พ.ศ.2520 เสร็จสมบูรณ์ปี พ.ศ.2528
พื้นที่ชลประทาน 100,000 ไร่ (ปัจจุบันคงเหลือพื้นที่ชลประทาน 71,170 ไร่)
2.ลักษณะทั่วไปของโครงการ
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัดเป็นโครงการชลประทาน 2 ประเภท
คือ ประเภททดน้ำและประเภทเก็บกักน้ำ
ฝายสินธุกิจปรีชา
ประเภททดน้ำ
ได้ก่อสร้างฝายสินธุรกิจปรีชาในแม่น้ำปิงที่บ้านสหกรณ์
ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย หรือที่บ้านหนองกอก ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง
จังหวัดเชียงใหม่ ที่พิกัด47QMB955-120 แผนที่ระวาง 4747IIเริ่มก่อสร้างปี
พ.ศ.2472 เสร็จสมบูรณ์ปี พ.ศ. 2479 แต่สำหรับการ
ส่งน้ำได้เริ่มส่งน้ำต้นปี พ.ศ.2478 โดยส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกที่มีระบบส่งน้ำได้ก่อสร้างเสร็จในขณะนั้นเป็นต้นมา
ค่าก่อสร้างทั้งโครงการ
เป็นเงิน 1.2 ล้านบาท พื้นที่ส่งน้ำเป็นพื้นที่เพาะปลูกในที่ราบ เชิงเขาฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง
อยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ มีอำเภอสันทราย อำเภอแม่ริม
และ อำเภอเมือง มีพื้นที่ชลประทานรวมทั้งหมด 70,000 ไร่ (ปัจจุบัน 44,360
ไร่)
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
ประเภทเก็บกักน้ำ
ได้ก่อสร้างเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลปิดกั้นลำน้ำแม่งัด
ที่บ้านแม่วะ ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ที่พิกัด 47Q NBO44-185 แผนที่ระวาง4847 III เริ่มก่อสร้างปี พ.ศ.2520
เสร็จสมบูรณ์ปี พ.ศ.2528 ค่าก่อสร้างทั้งโครงการเป็นเงิน 1,140 ล้านบาท
สามารถอำนวยประโยชน์เพื่อการชลประทาน คือ ส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกในที่ราบเชิงเขาทั้งสองฝั่งของลำน้ำแม่งัด
อยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ชลประทานรวมทั้งหมด26,810
ไร่ และเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่แน่นอนให้แก่พื้นที่ชลประทานเก่าโครงการแม่ปิงเก่า
49,000 ไร่ และพื้นที่ชลประทานของฝายราษฎรในลำน้ำแม่ปิงจำนวน 16 แห่ง มีพื้นที่ชลประทานรวม
62,000 ไร่
ประตูระบายทราย
ประตูระบายปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย
ฝายสินธุกิจปรีชา
- เป็นฝายหินก่อแกนดินเหนียว มีสันฝายเป็นลักษณะ Broad Crest มีความยาว
89.30 ม. และมีความสูงของฝาย 3.10 ม.
- ประตูระบายทรายฝั่งซ้าย ขนาด 3.00 ม. X 4.14 ม. จำนวน 3 ช่อง
- ประตูระบายปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายขนาด 3.00 ม. X 2.10 ม. จำนวน
2 ช่อง
ระบบส่งน้ำมีอาคารดังนี้
- คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย มีความยาว 36.000 กม. มีคลองซอย และคลองแยกซอย
จำนวน 20 สาย รวมความยาว 88.676 กม.
ระบบระบายน้ำมีอาคารดังนี้
- คลองระบายน้ำสายใหญ่มีจำนวน 5 สาย รวมความยาว 8.800 กม.
- คลองระบายน้ำสายซอยและสายแยกซอย มีจำนวน 2 สาย รวมความยาว 35.00 กม.
- อาคารในระบบระบายน้ำมีจำนวน 16 แห่ง
อ่างเก็บน้ำและเขื่อนเก็บกักน้ำ
(ฝายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่3
เขื่อนสมบูรณ์ชล)
- ปริมารฝนเฉลี่ยของโครงการ
1,300 - 1,350 ม.ม/ปี
- พื้นที่รับน้ำฝนที่หัวงาน 1,281
ตร.กม.
- พื้นที่อ่างเก็บน้ำ(ระดับน้ำสูงสุด)
20 ตร.กม.
- ระดับน้ำสูงสุด +400.00
ม.(รทก.)
- ระดับน้ำเก็บกัก +396.50
ม.(รทก.)
-
ระดับน้ำต่ำสุด +360.50
ม.(รทก.)
- ระดับท้องน้ำที่หัวงาน
+345.00
ม.(รทก.)
-
ความจุของอ่างที่ระดับน้ำสูงสุด 325
ล้าน ลบ.ม.
- ความจุของอ่างที่ระดับน้ำต่ำสุด 10
ล้าน
ลบ.ม.
- ความจุของอ่างที่ระดับน้ำเก็บกัก
265 ล้าน
ลบ.ม.
- ระดับน้ำสันเขื่อน +404.00
ม.(รทก.)
- ความยาวตามแนวสันเขื่อน 1,950
ม.
- ความกว้างสันเขื่อน
9 ม.
- ความกว้างฐานเขื่อน 399
ม.
- ความสูงตัวเขื่อน 59
ม.
- ลาดหน้าเขื่อน
1:2และ1:2
- ลาดท้ายเขื่อน 1:2.1/2และ1:3
- ชนิดของเขื่อน
เขื่อนดิน
หินทั้งแกนดินเหนียว
คอนกรีต
อื่น
ๆ.............
- ข้อมูลอื่น ๆ เขื่อนดินประเภทใช้ดินหลายชนิดถมบดอัดแน่นเป็นตัวเขื่อน(Zone
Embankment)
- อาคารระบายน้ำล้นปกติ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดสันทางน้ำล้นยาว
12.50 ม. จำนวน 3 ช่อง สามารถระบายน้ำได้สูงสุด
1,035 ลบ.ม.ต่อวินาที
- อาคารระบายน้ำฉุกเฉินเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดสันทางน้ำล้นยาว
150.00 ม. สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 535 ลบ.ม. ต่อวินาที
- ท่อระบายน้ำปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายขนาด 0.80
ม. สามารถระบายน้ำเข้าคลองส่งน้ำได้สูงสุด 3.80 ลบ.ม. ต่อวินาที
- ท่อระบายน้ำปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาขนาด 0.80
ม. สามารถระบายน้ำเข้าคลองส่งน้ำได้สูงสุด4.27 ลบ.ม. ต่อวินาที
- ท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 2.50
ม. สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 47 ลบ.ม. ต่อวินาที
- โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
2 เครื่อง และแต่ละเครื่องมีกำลังผลิต
กระแสไฟฟ้า 4,500 กิโลวัตต์
ระบบส่งน้ำมีอาคารดังนี้
- คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย มีความยาว 11.020 กม. มีคลองซอยและคลองแยกซอย
จำนวน 3 สาย รวมความยาว 12.413 กม.
- คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา มีความยาว19.700 กม. มีคลองซอยและคลองแยกซอย
จำนวน 6 สาย รวมความยาว 8.947 กม.
ระบบระบายน้ำมีอาคารดังนี้
- คลองระบายน้ำสายใหญ่ ฝั่งซ้าย มีจำนวน 3 สาย รวมความยาว 5.036 กม.
- คลองระบายน้ำสายใหญ่ ฝั่งขวา มีจำนวน 1 สาย รวมความยาว 7.157 กม.
- อาคารในระบบระบายน้ำ มีจำนวน 5 แห่ง
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัดสมบูรณ์ชล
ได้แบ่งฝ่ายส่งน้ำ
และบำรุงรักษาเป็น 3 ฝ่าย คือ
-ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 รับผิดชอบหัวงานโครงการฯ
แม่แฝกและพื้นที่ส่งน้ำตั้งแต่หัวงาน ถึงคลองซอย 9 มีพื้นที่ชลประทาน 22,700
ไร่
-ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 รับผิดชอบพื้นที่ส่งน้ำตั้งแต่คลองซอย
10 ถึงปลายคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย มีพื้นที่ชลประทาน 21,660 ไร่
-ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 รับผิดชอบโครงการฯแม่งัดทั้งหมดมีพื้นที่ชลประทาน
26,810 ไร่ ลักษณะพื้นที่ชลประทานของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา
แม่แฝก-แม่งัดทั้งโครงการจำนวน 71,170 ไร่ เป็นพื้นที่ชลประทานระดับ 2
ทั้งหมด คือ เป็นพื้นที่ชลประทานที่มีคลองส่งน้ำสายใหญ่ คลองซอย
คลองแยกซอย และมีระบบคันคูน้ำแต่ยังไม่มีการจัดรูปที่ดิน
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัดสมบูรณ์ชล
อาศัยแหล่งน้ำจากแม่น้ำปิงตอนต้นซึ่งมีลำน้ำสาขาใหญ่ที่สำคัญคือ ลำน้ำแม่งัด และลำน้ำแม่งัดนี้ได้ก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเรียบร้อยแล้ว มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,281 ตร.กม. เก็บกักน้ำที่ระดับน้ำเก็บกัก
265 ล้าน ลบ.ม. เป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่แน่นอนให้แก่โครงการฯ
สภาพทางการเกษตร
ในฤดูฝนจะทำนาปี
70% ของพื้นที่ทั้งหมดและที่เหลืออีก 30 % เป็นพืชไร่ พืชผัก และผลไม้
เช่น ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง เป็นต้น ผลผลิตข้าวนาปี
เฉลี่ย 75 ถัง/ไร่สำหรับพืชสวนนั้นผลผลิตจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละปี
ในฤดูแล้งจะปลูกข้าวนาปรังและพืชไร่ประมาณ
90% ของพื้นที่ปลูกข้าวนาปี พืชไร่ที่ปลูกนั้นส่วนใหญ่ ได้แก่ ถั่วเหลือง
มันฝรั่ง ยาสูบ และพืชผักอื่นๆ
ผลผลิตข้าวนาปรัง 85 ถัง/ไร่ ถั่วเหลือง 300กก./ไร่
มันผรั่ง 2,700 กก./ไร่ ยาสูบ
2,600 กก./ไร่
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
ราษฎรในเขตโครงการฯ
แม่แฝก-แม่งัด มีอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก และมีความขยันขันแข็งปลูกพืชมากกว่า
2 ครั้งต่อปี ทำให้มีรายได้อยู่ในขั้นดีมากดังนั้นสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมจึงอยู่ในระดับที่ดีตามไปด้วย
จำนวนครัวเรือนในเขตโครงการฯ
นั้นมีอยู่ 37,133 ครัวเรือน รวมประชากรทั้งสิ้น 140,068 คน พื้นที่ถือครองโดยเฉลี่ยประมาณ
3.6 ไร่/ครัวเรือน และรายได้โดยเฉลี่ยประมาณ 30,000-40,000 บาท/ครัวเรือน/ปี
3.ประสิทธิภาพของการส่งน้ำและบำรุงรักษาของโครงการที่ผ่านมา
3.1
ประสิทธิภาพของการชลประทาน(Irigaionefficiency) ของโครงการฯแม่แฝกมี 42%
เป็น Canal efficiency 60% และเป็น farm efficiency 70% สาเหตุโครงการแม่แฝกมีประสิทธิภาพการชลประทานเพียง
42% เพราะว่าโครงการแม่แฝกเป็นโครงการเก่ามีระบบส่งน้ำล้าสมัยไปบ้าง ค่า
Canal efficiency 60% ซึ่งเป็นค่าที่ค่อนข้างต่ำ
3.2
ประสิทธิภาพของการชลประทาน(Irigaionefficiency) ของโครงการแม่งัดมี 56%
เป็น Canal efficiency 80% และเป็น Farm efficiency 70%
ประโยชน์
1.ด้านชลประทาน
สามาส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกบริเวณท้ายเขื่อนได้ 26,810 ไร่ พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการชลประทานแม่แฝก
44,360 ไร่
ชลประทาน แม่ปิงเก่า
49,000 ไร่ และพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรอีก 39,000 ไร่ รวมพื้นที่ได้รับประโยชน์จากเขื่อนนี้จำนวน
159,170 ไร่
2.
ด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้าได้ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าจำนวน
2 เครื่อง รวมกำลังผลิต 9,000 กิโลวัตต์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย
ปีละ
28.75 ล้านกิโลวัตต ์ต่อชั่วโมงจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ราษฎรในเขต อำเภอสันทราย
อำเภอพร้าว อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
3.ด้านบรรเทาอุทกภัย
อ่างเก็บน้ำมีพื้นที่รับน้ำฝน 1,281 ตารางกิโลเมตร ช่วยเก็บกักน้ำในฤดูน้ำหลากไม่ให้ไหลบ่าลงมาทำความเสียหาย
แก่บ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎรในเขตตัวเมืองเชียงใหม่
4.ด้านประมง
อ่างเก็บน้ำเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ เป็นสถานที่เพาะและบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด
จึงเป็นแหล่งประมงน้ำจืด
ที่ทำรายได้แก่ราษฎรในบริเวณนั้น
5.ด้านท่องเที่ยว
เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่สวยงามอีกแห่งของจังหวัดเชียงใหม่
ปัญหาของโครงการ
ปัญหาของโครงการฯ
แม่แฝก-แม่งัด คือ ช่วงเวลาที่จะดำเนินการซ่อมแซมและก่อสร้างปรับปรุงนั้น
หาช่วงเวลาหยุดการส่งน้ำได้ยากเพราะราษฎร
จะปลูกพืชแต่ละปีมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป จึงมีการส่งน้ำตลอดปีเกือบทุกวัน
|